top of page
Writer's pictureThanapon Sutthinuan

เคยสงสัยกันบ้างมั้ย? Influencer VS KOL มีความแตกต่างกันตรงไหน?


เชื่อว่าหลายๆ คนคงได้ยินคำว่า “Influencer และ KOL” กันมาอย่างคุ้นหูใช่มั้ยละครับ? แต่เชื่อได้เลยว่ามีคนจำนวนมากนั้นยังไม่เข้าใจ 2 คำนี้อย่างลึกซึ้งว่ามันมีความแตกต่างกันยังไง มีบทบาทและหน้าที่ต่างกันยังไง เหมาะแก่การนำไปใช้รูปแบบไหน น้องไทโกะจึงได้ชวนทุกคนมาทำความรู้จักและเข้าใจกันง่ายๆ ไม่เกิน 10 นาทีแน่นอนครับ เริ่ม!


Influencer คืออะไร

Influencer (อินฟลูเอนเซอร์) คือบุคคลที่มีอิทธิพลทางสื่อโซเชียล มีผู้ติดตามทางช่องทางออนไลน์จำนวนมาก โดยเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์เพื่อเผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆ ที่สามารถทำให้ผู้ติดตามนั้นรู้สึกเชื่อในสิ่งที่ Influencer คนนั้นๆ ได้พูดและยังมีความเป็นกันเองมากกว่าการที่แบรนด์นั้นทำสื่อโฆษณาเอง


KOL คืออะไร

KOL ย่อมาจาก Key Opinion Leader เป็นผู้นำทางความคิด มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ มีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นผู้นำสูง มีพลังในการชี้นำผู้คนจำนวนมากให้คล้อยตามในสิ่งที่เขาคิดและพูดออกมาซึ่งหลายๆ เรื่องนั้นมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของตัว KOL เองครับ

แล้วมันแตกต่างกันยังไง

- Influencer นั้นนำเสนอคอนเทนต์ที่หลากหลาย เข้าถึงสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดว่าจะนำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่ง - KOL นั้นจะนำเสนอคอนเทนต์ที่เฉพาะเจาะจงกว่า เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายเดียวอย่างเต็มเป้า ตรงจุด.. พร้อมนำเสนอคอนเทนต์และลงลึกได้มากกว่า แถมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อีกด้วย - Influencer นั้นมีทั้งแบบที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก และแบบคนติดตามน้อย (Micro Influencer) ในขณะที่ KOL นั้นมีไม่ได้มีแค่ผู้ติดตามทางสื่อออนไลน์เท่านั้นยังมีผู้ติดตามแบบออฟไลน์ที่มาจากความสามารถและชื่อเสียงอีกด้วย


คอนเทนต์แบบไหนที่เหมาะสม สำหรับแบรนด์ที่จะนำไปใช้

Influencer - นั้นเหมาะแก่การนำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ โดยสามารถนำเสนอได้อย่างหลากหลาย เช่น รีวิวร้านอาหาร รีวิวคาเฟ่ สอนแต่งตัว เหมาะกับใช้สร้างการรับรู้สินค้าใหม่ๆ ที่ค่อนข้าง Mass ไม่ต้องใช้ความรู้ในการนำเสนอมาก ตัดสินใจซื้อได้ง่าย

KOL - นั้นเหมาะแก่การนำเสนอคอนเทนต์ที่ต้องใช้ความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างดี เช่น การรีวิวรถยนต์ การรีวิวกล้องถ่ายรูป การรีวิวคอนโด สินค้าเกี่ยวกับการเงินต่างๆ รีวิวเครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับแม่และแเด็ก เป็นต้นครับ ซึ่งจะมีความยากกว่า และต้องการการอธิบายที่ดูแล้วรู้ลึก รู้จริง เป็นสินค้าที่ลูกค้าคิดแล้วคิดอีกถึงจะซื้อ


ซึ่งจริงๆ แล้ว แคมเปญในยุคนี้ไม่ได้จำกัดว่าต้องใช้อย่างใดอย่างหนึ่งนะครับ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละแบรนด์เลย สามารถที่จะใช้เป็นลำดับต่อๆ กันก็สามารถทำได้ เช่น ใช้ Influencer สร้างสื่อเพื่อการรับรู้ก่อน และใช้ KOL มาสร้างบทความวิเคราะห์ต่อเนื่องกันไป เพื่อให้เวลา ลูกค้า Search Google มาเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็จะเจอบทความที่วิเคราะห์สินค้านั้นๆ อีกทีได้ครับ


เป็นยังไงกันบ้างครับ เข้าใจกันมากขึ้นไหมครับ ส่วนใหญ่แล้ว ดารา นักแสดง เน็ตไอดอล นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญมักจะถูกเหมารวมว่าเป็น Influencer กันหมด ตรงนี้น้องไทโกะเลยอยากให้ทุกคนได้เข้าใจกันมากขึ้นนะครับ


3,273 views

Kommentare


bottom of page